วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

สินค้าหัวโขน


 

หัวโขน ,ขายหัวโขน,หัวโขน(มีแป้นวางแถมให้)งานปราณีต
หัวโขน หนุมาน พิเภก หนุมานครองเมือง หนุมาน พระราม ไมยราพ พระลักษณ์ อากาศตะไล สุครีบ ทศกัณฑ์ ฤาษี ติดต่อ สหพงศ์ ศรีรงค์ โทร 0813731069
ราคาขายขนาดเล็ก แบบตั้งโชว์ ราคา 300 บาท ขนาดกลางแบบตั้งโชว์ 600 บาท
หัวโขนแบบสวมมีขนาดความสูง 25 นิ้ว เส้นผ่าศุนย์กลาง 10 นิ้วราคา 3000 บาท
แบบแขวนราคา 1500 บาท
ธนาคารกรุงไทย 981-4-80261-1 สาขาซีคอนสแควร์
ธนาคารไทยพาณิชย์ 164-242833-5 สาขาซีคอนสแควร์






เครื่องแต่งกายของตัวละครในการแสดงโขน



เครื่องแต่งกายของตัวละครในการแสดงโขน

เครื่องแต่งกายสำหรับใช้ในการแสดงโขน ใช้การแต่งกายแบบ ยืนเครื่อง ซึ่งเป็นการแต่งกายจำลอง เลียนแบบ จากเครื่องทรงต้นของ พระมหากษัตริย์แบบโบราณ ที่มีความสวยงามวิจิตรตระการตา แบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายมนุษย์ เทวดา พระ นาง ฝ่ายยักษ์แลฝ่ายลิง สำหรับบ่งบอกถึงยศถาบรรดาศักดิ์และตำแหน่ง

นอกจากนั้นตัวละครอื่น ๆ จะแต่งกายตามแต่ลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่นฤๅษี กา ช้าง ม้า วัว ควาย ฯลฯ สวมหัวโขน ซึ่งมีการกำหนดลักษณะ และสีไว้อย่างเป็นระบบและแบบแผน ใช้สำหรับกำหนด ให้ใช้เฉพาะกับตัวละคร สีของเสื้อเป็นการบ่งบอกถึงสีผิวกาย ของตัวละครนั้น ๆ เช่น พระรามสีกายเขียวมรกต พระลักษณ์สีกายเหลืองบุษราคัม ทศกัณฐ์สีกายเขียวมรกตหนุมานกายสีขาวมุกดา สุครีพกายสีแดงโกเมน เป็นต้น

ซึ่งเครื่องแต่งกายในการแสดงโขนในของ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวลิงมีดังนี้
  • ตัวพระ เช่น พระราม พระลักษณ์ พระพรต พระสัตรุต : ผู้แสดงตัวพระ จะสวมเสื้อแขนยาวปักดิ้น และเลื่อม ประดับด้วยปะวะหล่ำ มีอินธนูที่ไหล่ และพาหุรัด สวมกรองศอทับด้วยทับทรวง สังวาลและตาบทิศ ส่วนล่างสวมสนับเพลาไว้ข้างใน นุ่งผ้านุ่งยกจีบโจง ไว้หางหงส์ทับสนับเพลา ด้านหน้ามีชายไหว และชายแครงห้อยอยู่ ประดับด้วยสุวรรณประกอบ รัดเอวด้วยรัดพัสตร์ คาดปั้นเหน่ง ศีรษะสวมชฎาประดับด้วยดอกไม้เพชรที่ด้านซ้าย ดอกไม้ทัดที่ด้านขวา มีอุบะ ตามตัวสวมเครื่องประดับต่าง ๆ ประกอบด้วยกำไลเท้า ธำมงรค์ แหวนรอบ กรรเจียกและทองกร แต่เดิมตัวพระจะสวมหัวโขนในการแสดง แต่ภายหลังไม่เป็นที่นิยม เพียงแต่แต่งหน้า และสวมชฎาแบบละครในเท่านั้น


ประวัติความเป็นมาของโขนไทย
โขน จัดเป็นนาฏกรรมที่มีความเป็นศิลปะเฉพาะของตนเอง ไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าคำว่า "โขน" ปรากฏขึ้นในสมัยใด แต่มีการเอ่ยถึงในวรรณคดีไทย เรื่องลิลิตพระลอที่กล่าวถึงโขนในงานแสดงมหรสพ ระหว่างงานพระศพของพระลอ พระเพื่อนและพระแพงว่า "ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน" โดยมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่าโขนนั้น มีที่มาจากคำและความหมายในภาษาต่าง ๆ ดังนี้

  • คำว่า โขน ในภาษาเบงคาลี ซึ่งปรากฏคำว่า "โขละ" หรือ "โขล" (บางครั้งเขียนด้วยคำว่า "โขฬะ") ที่เป็นชื่อเรียกของเครื่องดนตรีประเภทหนังชนิดหนึ่งของฮินดู ลักษณะและรูปร่างคล้ายคลึงกับตะโพนของไทย ไม่มีขาตั้ง ทำด้วยดิน ไม่มีสายสำหรับถ่วงเสียง มีเสียงดังค่อนข้างมาก จัดเป็นเครื่องดนตรี ที่ได้รับความนิยมในแคว้นเบงกอล ประเทศอินเดีย ใช้สำหรับประกอบการละเล่นชนิดหนึ่ง เรียกว่ายาตรา หรือ ละครเร่ที่คล้ายคลึงกับ ละครชาตรี โดยสันนิษฐานว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ เคยถูกนำมาใช้ประกอบการเล่น นาฏกรรม ชนิดหนึ่ง จึงเรียกว่า โขล ตามชื่อของเครื่องดนตรี
  • คำว่า โขน ใน ภาษาทมิฬ มีจุดเริ่มต้นจากคำว่า โขล ซึ่งมีความใกล้เคียงกับ โกล หรือ โกลัม ใน ภาษาทมิฬหมายความถึง เพศ หรือ การแต่งตัว การประดับตกแต่งร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ให้สวยงามตามแต่ลักษณะของเพศหญิง และเพศชาย หรือ อีกความหมายหนึ่งของ โกลหรือ โกลัม คือการใช้แป้งโรยประดับตกแต่งหน้าบ้าน